ประกันสุขภาพเด็กแบบมีออมในกองทุนรวม H&S EXTRA – UDR

ประกันสุขภาพเด็กมีออมในกองทุนรวม

วางแผนสวัสดิการประกันสุขภาพให้ลูกน้อยพร้อมสร้างระบบการออม การลงทุนในกองทุนรวม เพื่ออนาคตที่ดีของลูก ภายใต้ระบบกองทุนรวมชั้นดีของ AIA ได้แผนค่าเบี้ยคงที่ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่าย สามารถวางแผนการหยุดพักชำระเบี้ยเพื่อลดภาระการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในระยะยาว ด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลายและความยืดหยุ่นสูง แผนประกันสุขภาพเด็กแบบมีออมในกองทุนรวม H&S EXTRA – UDR จึงเป็นแผนที่พ่อแม่หลายท่านตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกรัก

*ปิดการขายวันที่ 16 ตุลาคม 2567 นี้

ศึกษาข้อมูลประกันสุขภาพของลูกแบบอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : ประกันสุขภาพลูกน้อย

ประกันสุขภาพแบบ UDR คือ

ประกันสุขภาพที่ถูกออกแบบมาสำหรับแนบกับประกัน Unit Linked AIA Issara Plus โดยจะมีการคำนวนรวมค่าใช้จ่ายในประกันชีวิตหลักและประกันสุขภาพด้วยกัน ซึ่งค่าเบี้ยหลังหักค่าธรรมเนียมแล้ว เงินส่วนที่เหลือจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวม

ประกันสุขภาพควบการลงทุน

จุดเด่นของประกันสุขภาพเด็กแบบควบการลงทุน H&S Extra – UDR

  • เบี้ยรวมคงที่ตลอดสัญญา
  • การันตีการรับประกันต่อเนื่องตลอดสัญญา
  • เพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าโดยการลงทุนผ่านกองทุนรวม เพื่ออนาคตที่ดีของลูกน้อย
  • มีความยืดหยุ่นสูง สามารถวางแผนช่วงระยะเวลาในการชำระเบี้ยได้ด้วยตัวคุณเอง
  • วางแผนหยุดพักชำระเบี้ยได้ เพื่อลดภาระการชำระเบี้ยในระยะยาว

ความคุ้มครองของประกันเด็กแบบควบการลงทุน H&S Extra – UDR

  • ค่าห้อง ค่าอาหาร บริการโรงพยาบาล สูงสุดวันละ 6,500 บาท
  • ค่าแพทย์สูงสุดวันละ 1,200 บาท
  • ค่าผ่าตัดและหัตถการสูงสุดครั้งละ 120,000 บาท
  • ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ (เช่น ค่ายา น้ำเกลือ ค่าเวชภัณฑ์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าพยาบาลประจำวัน) สูงสุดครั้งละ 40,000 บาท ต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง
  • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) สูงสุดปีละ 9,000 บาท
  • ผลประโยชน์เงินคืนพิเศษสูงสุดปีละ 4,500 บาท
  • ให้ความคุ้มครองได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน – 85 ปี

AIA H&S EXTRA

HS EXTRA OPD

ตัวอย่างราคาเบี้ยประกันเด็ก H&S Extra – UDR แผนเริ่มต้น

ราคาเบี้ยในตารางเป็นราคาเบี้ยประกันแผน AIA H&S EXTRA – UDR แผนค่าห้องต่างๆ ที่รวมประกันหลักขึ้นต่ำแล้ว สำหรับลูกค้าสุขภาพระดับมาตรฐาน

ราคาเบี้ย H&S EXTRA UDR

ยกตัวอย่างแผนแนะนำ คุณพ่อคุณแม่วางแผนทำประกันสุขภาพ ให้ลูกสาวอายุ 1 เดือน พร้อมเก็บเงิน และ สร้างการลงทุนในกองทุนรวมให้ลูก เพื่อเป็นเงินทุนให้ลูกน้อยในอนาคต

 

ได้ความคุ้มครอง

  • แผนค่ารักษาพยาบาล AIA H&S Extra-UDR ค่าห้อง อาหาร วันละ 4,500 บาท
  • ค่าแพทย์วันละ 1,000 บาท
  • วงเงินค่าผ่าตัดครั้งละ 100,000 บาท
  • ค่ายา น้ำเกลือ แล็บ เวชภัณฑ์ พยาบาล 30,000 บาท ต่อการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง
  • ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินเนื่องจากอุบัติเหตุ แบบผู้ป่วยนอกภายใน 24 ชั่วโมงครั้งละ 8,000 บาท
  • วงเงินค่ารักษาแบบ OPD สำหรับการเจ็บป่วยทั่วไป ปีละ 7,000 บาท
  • ถ้าทั้งปีไม่ได้เคลมมีเงินคืน 3,500 บาท

– คุ้มครองชีวิต 360,000 บาท

– คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ 360,000 บาท

 

รวมความคุ้มครองทั้งหมด ชำระเบี้ยปีละ 61,358 บาท

 

ค่าเบี้ยหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวม

กรณีเลือกกองทุนที่ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ผลตอบแทนที่ประมาณ 5% ต่อปี จะมีเงินสะสมในหน่วยลงทุนตามกราฟ

  • 20 ปีจะมีเงินสะสมในกองทุนประมาณ 8xx,xxx บาท
  • 30 ปีจะมีเงินสะสมในกองทุนประมาณ 1,7xx,xxx บาท

สามารถวางแผนชำระเบี้ย 20-25 ปีเมื่อกองทุนมีปริมาณมากพอสามารถวางแผนหยุดชำระเบี้ยแต่ให้กองทุนมาดูแลค่ารักษาพยาบาลให้ลูกได้จนถึงอายุ 85 ปี พร้อมเงินสะสมในกองทุนรวม

 

* ต้องทำผ่านตัวแทนที่ได้รับสิทธิในการขายผลิตภัณฑ์ Unit Linked และมีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนเท่านั้น

** ผู้เอาประกันควรประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยง และศึกษาเรื่องการลงทุนก่อนการตัดสินใจ

*** ผลตอบแทนที่แสดงในตารางเป็นค่าประมาณการผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ย 5% ต่อปี เพื่อสร้างความเข้าใจ ซึ่งผลตอบแทนที่แทนจริงจะขึ้นอยู่กับ ระดับความสามารถในการรับความเสี่ยงในการลงทุนของลูกค้าแต่ละราย การวางแผนการลงทุนและสภาพตลาด ณ ตอนนั้น ซึ่งอาจจะมีความผันผวนระหว่างการลงทุน อาจจะได้มากกว่าหรือน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ได้

คำศัพท์น่ารู้

กองทุนรวม คือ การรวบรวมเงินทุนจากนักลงทุนทั่วไป คนละเล็กคนละน้อย เพื่อรวมเป็นเงินก้อนขนาดใหญ่ แล้วนำเงินที่รวบรวมนั้นไปลงทุนตามที่ได้ตกลงกับนักลงทุน กองทุนที่รวบรวมเงินที่ได้นี้จะได้รับการบริหารจัดการจากบริษัทจัดการกองทุนซึ่งมีหน้าที่ลงทุนแทนนักลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุน และมีการจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์เพิ่มขึ้นมาอีกซึ่งกฎหมายจะกำหนดเอาไว้ เพื่อคอยดูแลเงินกองทุนนั้นแทนนักลงทุนที่นำเงินมาลงทุน ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนล้ม ผู้ดูแลผลประโยชน์ก็จะชดเชยให้กับนักลงทุน หรือบริษัทจัดการกองทุนไม่ได้ทำตามหนังสือชี้ชวนผู้ดูแลผลประโยชน์ก็จะเอาผิดบริษัทจัดการกองทุนแทนผู้ถือหน่วยลงทุนได้เช่นกัน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.set.or.th > [ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]