“ไม่ทำประกันก็ไม่ผิด”

“ไม่ทำประกันก็ไม่ผิด”

แค่คุณต้องจัดการบริหารความเสี่ยงให้เป็น

ว่ากันด้วยเรื่องการบริหารความความเสี่ยง

รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง… จะลองอะไรก็ลองได้ แต่ลองด้วยชีวิตนี่ก็คงไม่ไหว

ทั้งที่รู้ว่า แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา ต้องเกิดขึ้นกับเราแน่นอน

แค่ตอนนี้ยังไม่ได้เกิดกับเรา ก็ใช่ว่ามันจะไม่เกิด

แก่แน่ เจ็บแน่ ตายแน่!! อยู่ที่ว่าอย่างใดก็อย่างหนึ่งจะเกิดก่อนกัน

ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ต่างหมุนวนไปตามวัฏจักรของมัน

ฝืนธรรมชาติไม่ได้ แล้วจะให้ทำไงดี??

วิธีง่ายที่สุด เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันสิคะ

เราเอาชนะความเจ็บความตายไม่ได้ เพราะความเสี่ยงต่างๆรอบตัวบางทีก็เกินกว่าที่จะควบคุม

แต่ไม่ว่าอะไรก็ไม่เกินความสามารถของมนุษย์

มนุษย์มีวิธีการบริหารความเสี่ยงของตัวเองมาตั้งแต่ไหนไร

เพียงแต่เราจะรู้ตัวหรือไม่เท่านั้นเอง

เริ่มตั้งแต่ควบคุมความเสี่ยงนั้น ให้ความรุนแรงลดลง ลดโอกาสในการเกิดจากบ่อยๆ ให้เหลือความถี่น้อยลง

ที่สุด

เช่น รณรงค์ให้สวมหมวกกันน๊อกป้องกันศีรษะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

การใส่เสื้อชูชีพเวลาลงน้ำปัองกันการจมน้ำเสียชีวิต

ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค เป็นต้น

เหล่านี้ไม่ได้ทำให้ภัยต่างๆลดลง เพียงแต่ทำให้ภัยที่จะเกิดขึ้นบรรเทาลงไปเท่านั้น

ต่อมาก็จะมีวิธีการจัดการสำหรับภัยต่างๆที่เห็นแล้วว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย และความเสียหายที่ตามมาใน

แต่ละครั้งจะเป็นความสูญเสียที่มาก

มนุษย์ก็จะใช้วิธีการหลีกเลี่ยงไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ

เช่น เรารู้ว่ายาเสพติดเป็นภัยต่อชีวิตเป็นพิษต่อสังคม ทั้งมีโอกาสทำให้เสียชีวิตจากการเสพและการโดน

ประหารชีวิตได้

เราก็เลือกที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว

และวิธีการจัดการความเสี่ยงต่อมา ก็คือ การโอนย้ายความเสี่ยง

เพราะความชาญฉลาดของมนุษย์

เมื่อเราจัดการกับความเสียหายต่างๆได้ยาก เราจึงคิดผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่า”ประกัน” มารับความเสี่ยงให้เราแทน

การถัวเฉลี่ยความเสี่ยงภัยด้วยจำนวนเงินที่เรารู้แน่นอน

เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นมากกว่าจำนวนเงินที่รับได้

โดยภัยที่มักจะนำมาจัดการบริหารด้วยวิธีการนี้ ก็คือ ภัยที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักจะ

ส่งผลเสียหายได้มาก

เช่น การจากไปของหัวหน้าครอบครัวก่อนวัยอันควร การบาดเจ็บ-เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่ส่งผลร้ายแรงต่อการดำรงชีพหรืออันตรายถึงชีวิต การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแบบไม่คาดคิด เป็นต้น

ส่วนวิธีการสุดท้ายที่มนุษย์เลือกใช้มากที่สุด(แบบไม่รู้ตัว) ก็คือ

การยอมรับความเสี่ยงต่างๆไว้เอง

โดยมากวิธีการนี้จะใช้กับภัยที่มีโอกาสการเกิดไม่บ่อย และความเสียหายไม่มากอะไร

เช่น การป่วยจากสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง หรือ เดินชนขอบโต๊ะหัวเข่ากระแทกเป็นรอยช้ำ เป็นต้น

ความเสี่ยงภัยรูปแบบนี้ ต่อให้ความถี่ของบุคคลเกิดความถี่มากกว่าชาวบ้านปกติเค้าเป็นกัน แต่ก็ไม่ส่งผลต่อ ความเสียหายทางเศรษฐกิจและจิตใจอะไรมากนัก

กลับมาที่ข้อสงสัยของเรากันค่ะว่า “เราไม่จำเป็นต้องมีประกันได้หรือไม่??”

คำตอบคือ ได้ค่ะ!!!

เพราะถ้าคุณไม่เลือกการจัดการความเสี่ยงแบบ Transferring risk แล้ว

ก็ยังมีวิธีให้คุณบริหารความเสี่ยงอีกถึง 3 แบบ ไม่ว่าจะเป็น

-การการควบคุมความเสี่ยง

-การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

-การยอมรับความเสี่ยงนั้นไว้เอง

ย้ำว่า…ไม่มีถูกมีผิดค่ะ!!

แค่คุณต้องประเมินโอกาสในการจะเกิด กับขนาดของความเสียหายของสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและทาง จิตใจด้วยตัวคุณเอง

แต่ถ้าวันนี้เรายังไม่พร้อมต่อการสูญเสียเหล่านั้น และในเมื่อเราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับเรา ระหว่าง แก่ เจ็บ อุบัติเหตุและตาย และในเมื่อเราคาดการณ์ไม่ได้ว่าถ้าเกิดเหตุร้ายเราจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ และในเมื่อวันนี้เรายังไม่มีเงินสำรองสำหรับความเสียหายมากมายขนาดนั้น เตรียมตัวไว้ก่อนด้วยเงินจำนวนน้อยที่เรารู้แน่นอน เพื่อปกป้องเงินก้อนใหญ่ของครอบครัว ก็น่าจะเป็นการดีกว่าจริงมั้ยคะ??..