วิชาชีพ บุคลากรทางการแพทย์ ควรวางแผนการเงินอย่างไร
เนื่องจากทางทีมงาน AIAplanner มีลูกค้าเป็นกลุ่มสายวิชาชีพทางสายการแพทย์ค่อนข้างมาก ได้รับคำถามเข้ามาบ่อยๆว่า เนื่องด้วยภาระงาน และเวลาที่ค่อนข้างจำกัดของสายวิชาชีพนี้ ควรจะวางแผนการเงินอย่างไร ??? ระหว่างที่เรียบเรียงได้ไปเจอบทความจากอาจารย์หมอท่านหนึ่งซึ่งเขียนแนะนำน้องๆในวิชาชีพถึงแนวทางในการวางแผนทางการเงิน ได้ไว้น่าสนใจมากๆ จึงขออนุญาตหยิบยกบทความมาให้ทุกๆท่านที่อยู่ในสายวิชาชีพนี้ได้ศึกษาค่ะ
“มีเรื่องนึงที่อยากเตือนน้องๆหมอจบใหม่มากๆ เรื่องการวางแผนการเงิน จบมาอย่าใช้เงินจนเพลิน สมัยนี้การทำงานเป็นหมอยากขึ้น สังคมคาดหวังกับเราสร้างแรงกดดันมากขึ้น ทุกวันนี้มีหมออยากลาออกมากมาย ติดที่ไม่รู้จะไปทำอะไรแทน มีข้อจำกัดเรื่องเงิน ทุกคนอยากทำงานด้วย passion คือไม่สนเงินทำเพราะใจรัก ถ้าเราจะทำแบบนั้นได้ต้องมี passive income เงินทำงานด้วยตัวมันเอง ไม่ใช่ active income คือต้องทำงานถึงจะได้เงิน
ดังนั้นเราทุกคนต้องการมีอิสรภาพทางการเงิน ให้เร็วที่สุด เริ่มต้นยิ่งเร็วยิ่งโตเร็ว บางคนสามารถ retire อายุ 30 ต้นๆ เพราะมี passive income มากพอแล้ว
วันนี้จะมาขอแชร์มุมมองของพี่ อาจะไม่ถูกทั้งหมด แต่อาจจะพอมีประโยชน์กับน้องๆได้บ้าง
มุมมองการเงิน
น่าเสียดายโอกาสชีวิตที่ผ่านมาไม่เคยวางแผนการเงิน มีแต่ใช้เงินไปเรื่อยๆ
1. การทำประกันชีวิต เมื่อก่อนคิดว่าไร้สาระ ตอนนี้เข้าใจแล้ว
เมื่อเราเจ็บป่วยทุพพลภาพทำงานไม่ได้จะได้เงินมาจากไหน? เมื่องานเราคือ active income ภาระหนี้สินใครจะจ่าย นั่นล่ะคือการประกันรายได้ส่วนนี้
ถ้าเราตายไปภาระจะตกที่ใคร พ่อแม่ สามี การทำประกันจะเป็นการคิดถึงห่วงใยคนข้างหลัง คนตาย ตายไปก็จบแต่คนที่ยังอยู่จะลำบาก ถ้ารักเค้าเราต้องมีหลักประกันให้เค้า
การทำประกันคู่การลงทุน unit link เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีความรู้การลงทุน และต้องการประกันความเสี่ยงไปด้วย ลดภาษีก็ได้
ประกันออมและบำนาญ การฝากเงินแช่ไว้ธนาคารดอกไม่งอกเงย เอาชนะเงินเฟ้อไม่ได้ แค่อุ่นใจว่ามีเงิน หยุดซะ เอาไปออมให้เกิดรายได้ดีกว่า อย่าลืมว่าพอเราเกษียณ ไม่ได้ทำงานรายได้ก็ลด เป้าคือทำยังไงเราไม่ต้องทำงานแต่มีเงินใช้ตลอด
2. การลดภาษี
ซื้อ LTF RMF ประกัน ลดหย่อนต่างๆ
เมื่อก่อนจ่ายเต็มๆ ดอกเบี้ยบ้านไม่เคยเอามาลด โง่มานาน
3. Refinance ลดดอกเบี้ย
นี่ก็โง่มาเป็นสิบปี ไม่เคยโปะ ไม่เคยรี ไม่เคยขอลดดอก จ่ายเต็มๆมาตลอด เสียดอกไปหลายล้าน
4. ออมเงินฉุกเฉิน 3-6 เดือน
ส่วนนี้คือ cash flow ถ้าเราป่วย บาดเจ็บ ทำงานไม่ได้ หรือมีเรื่องจำเป็นต้องใช้เงิน พวกนี้ต้องสามารถถอนมาใช้จ่ายได้ จะเก็บที่ธนาคารหรือออมทรัพย์ก็ได้
5. ลงทุน
การลงทุนกับหุ้นต่างๆคือหนทางที่เราจะสามารถมี passive incomeได้ แต่…ทำยังไงเราจะไม่เป็นเม่าศรี ต้องอ่านมีความรู้มีความเข้าใจ มีเงินเย็น
6. คนชอบมองว่าการออมการลงทุนจะทำได้ต้องหมดหนี้ก่อน จริงๆการลงทุนใครเริ่มก่อนยิ่งได้เปรียบ เราต้องแบ่งเงินเพื่อการออมการลงทุนควบคู่ไปกับหนี้และประกัน
7. วางแผนเกษียณ
ยิ่งเริ่มเร็วเรายิ่งเป็นอิสระทางการเงินเร็วขึ้น คนฉลาดคือคนที่รู้จักวางแผนการเงินระยะยาว ไม่ใช่คิดว่าสุขเฉพาะวันนี้ วันนี้เราสุขน้อยหน่อยแต่สบายมั่นคงตอนเราไม่สามารถทำงานได้ไม่ดีกว่าไม่มีอะไรกินตอนแก่เหรอ
8. ระหว่างที่เราสร้างความมั่นคง เราก็ยังสามารถแบ่งเงินไว้กินเที่ยวมีความสุขได้ นานๆจะสปอยล์ตัวเองทีก็ได้
9. ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยไม่จำเป็น แต่ถ้าอะไรที่มันทำให้เราสุขมากๆ นานๆก็จัดซะ อย่าอดมากเกินไป ชีวิตเราต้องมีความสุขด้วย ไม่ใช่ว่าคิดว่า ถ้าไม่เที่ยวตอนมีแรง แก่มามีเงินก็ไม่มีแรงไปเที่ยวจะมีประโยชน์อะไร เราแบ่งส่วนได้ จะเที่ยวก็เที่ยวแต่อย่าลืมเรื่องการออมเท่านั้นเองจ้ะ ลองคิดกลับกันถ้าเราเที่ยวๆๆๆๆ สาแก่ใจแล้ว พอแก่มาไม่มีแรงทำงานแถมไม่มีเงินจะใช้กินอยู่อันนั้นแย่กว่าอีก เพราะเวลาเราแก่เราไม่ได้อยากเที่ยวเราอยากมีเงินใช้ดูแลตัวเอง มีมรดกให้ลูกหลาน อย่าประมาทกับชีวิต คนที่คิดแค่ความสุขวันนี้ไม่มองถึงวันข้างหน้าและคนข้างหลังคือคนที่รักตัวเองแต่ไม่รอบคอบและลืมคิดถึงคนอื่นที่เราควรจะห่วงใย
เป้าหมาย คือ อิสรภาพทางการเงิน แต่มีความสุขไปด้วย ขอให้น้องๆเริ่มสร้างแผนทางการเงินของตัวเองแล้วจะสบายในอนาคต
]เครดิต : อ.ทัดดาว สอนนิวโร