ประกันโรคร้ายแรง AIA

ประกันโรคร้ายแรง

ประกันโรคร้ายแรง AIA ปี 2567 เพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายในวันที่โรคร้ายมาถึง ในโรคยอดฮิตที่เรากังวลทั้ง มะเร็ง สมอง หัวใจ นอกจากเรื่องความรุนแรงของโรคและการรักษาที่ซับซ้อน ก็คือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงมากๆ และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากนวัตกรรมการรักษาที่ดีและทันสมัยขึ้น

โดยในปัจจุบันประกันโรคมะเร็ง หรือ ประกันโรคร้ายแรงก็มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบ เจอ จ่าย จบ, เจอ จ่าย หลายจบ, แบบเบี้ยคงที่, แบบมีเงินสะสม, หรือ แบบจ่ายเป็นค่าชดเชย เพื่อให้สามารถนำมาวางแผนให้เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นในชีวิตของลูกค้าแต่ละท่านไป

ศึกษาแผนประกันอื่นๆของเอไอเอเพิ่มเติมได้ที่

ประกันโรคร้ายแรง คืออะไร

          ประกันโรคร้ายแรง คือ ประกันที่จะให้ความคุ้มครองกรณีที่ตรวจพบว่าผู้เอาประกันเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในนิยามของกรมธรรม์ ในกลุ่มโรคหลักๆได้แก่ มะเร็ง สมอง หัวใจ ระบบอวัยวะสำคัญ การบาดเจ็บร้ายแรงหรือทุพพลภาพ ซึ่งจะจ่ายเป็นเงินก้อนให้ในกรณีที่ตรวจพบเพื่อให้ผู้เอาประกันสามารถนำเงินไปช่วยดูแลตัวเองระหว่างการรักษาตัวได้

โดยโรคร้ายแรงมักจะเป็นกลุ่มโรคที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง อันตรายต่อชีวิต และส่งผลให้การดำรงชีพของผู้ป่วย เป็นไปอย่างยากลำบาก และคุณภาพชีวิตของคนไข้ลดลงจากปกติอย่างมาก ซึ่งโรคดังกล่าวมักจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง และมีความซับซ้อน ต้องใช้เครื่องมือ ยา และผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการรักษา

ซึ่งประกันโรคร้ายแรงก็จะจ่ายสินใหม่ให้ ในกรณีที่ลูกค้าตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงในระดับที่ระบุไว้ในนิยามตามกรมธรรม์ระบุ

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : นิยามประกันโรคร้ายแรง คปภ

ประกันโรคร้ายแรง AIA มีโรคอะไรบ้าง

สำหรับรายชื่อโรคร้ายแรงที่บริษัท AIA ให้ความคุ้มครองจะมีความคุ้มครองสำหรับระดับต้นถึงระดับปานกลาง 18 โรค และ ระดับรุนแรง 44 โรค ขึ้นกับแต่ละแผนว่าให้ความคุ้มครองระดับใดบ้าง โดยมีรายการโรคที่ให้ความคุ้มครองดังต่อไปนี้

โรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง

  1. โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม
  2. การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองออก
  3. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
  4. การผ่าตัดลอกเยื่อหุ้มหัวใจ
  5. การรักษาโรคลิ้นหัวใจด้วยการสวนหลอดเลือด
  6. การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโดยวิธีใส่สายสวนทางหลอดเลือด หรือภาวะการโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าที่ระดับอกหรือระดับท้อง
  7. การใส่เครื่องกรองลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำใหญ่
  8. โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด
  9. โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือดแดงบริเวณคอ
  10. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด
  11. การผ่าตัดฝังท่อระบายในโพรงสมอง
  12. การผ่าตัดตับออกหนึ่งกลีบ
  13. การผ่าตัดไตออกหนึ่งข้าง
  14. การผ่าตัดปอดออกหนึ่งข้าง
  15. แผลไหม้ชนิดรุนแรงน้อย (การเกิดแผลไหม้ระดับ 2)
  16. การผ่าตัดเลือดคั่งใต้เยื่อหุ้มสมองอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ
  17. การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้าง หรือตาหนึ่งข้าง
  18. โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

โรคร้ายแรงระดับรุนแรง

  1. โรคมะเร็งระยะลุกลาม
  2. เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง
  3. กล้ามเนื้อ หัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
  4. การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
  5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  6. การผ่าตัดลิ้นหัวใจด้วยวิธีการเปิดหัวใจ
  7. การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
  8. โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ
  9. โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง / โรคปอดระยะสุดท้าย
  10. โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต
  11. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
  12. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
  13. ภาวะโคม่า
  14. โรคสมองเสื่อม ชนิดอัลไซเมอร์
  15. โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
  16. สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
  17. โรคพาร์กินสัน
  18. โรคระบบประสาทมัลติเพิล สะเคลอโรสิส
  19. โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว
  20. ภาวะอะแพลลิก
  21. อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา
  22. โรคโปลิโอ
  23. โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
  24. ตับวาย
  25. ไตวายเรื้อรัง
  26. โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง
  27. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ หรือปลูกถ่ายไขกระดูก
  28. โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง
  29. ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็นซ้ำและเรื้อรัง
  30. ไตอักเสบลูปูส จากโรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส
  31. ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง
  32. แผลไหม้ฉกรรจ์ (การเกิดแผลไหม้ระดับ 3)
  33. การบาดเจ็บที่ศีรษะอยางรุนแรง
  34. การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ
  35. การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
    • ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างถาวรตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 180 วัน หรือ
    • ไม่สามารถประกอบอาชีพใดๆ เพื่อรับค่าตอบแทนหรือกำไรได้ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 180 วัน (คุ้มครองตั้งแต่อายุ 17 ปีบริบูรณ์จนถึงก่อนอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์) หรือ
    • การสูญเสียสายตา มือ หรือเท้า ทั้ง 2 ข้าง หรือสูญเสียมือ 1 ข้าง และ เท้า 1 ข้าง หรือสูญเสียสายตา 1 ข้าง และมือ 1 ข้าง หรือสูญเสียสายตา 1 ข้าง และเท้า 1 ข้าง
  36. ตาบอด
  37. การฉีกขาดของรากประสาทต้นแขน
  38. การสูญเสียความสามารถในการพูด
  39. โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย
  40. โรคเท้าช้าง
  41. โรคไข้รูมาติกที่ทำให้หัวใจผิดปกติ
  42. โรคคาวาซากิที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของหัวใจ
  43. โรคเบาหวานชนิดที่ 1
  44. โรคน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย

ทำไมต้องทำประกันโรคร้ายแรง

          นอกจากโรคร้ายแรง จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพและการดำรงชีพของผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลต่อภาวะการเงินของครอบครัวผู้ป่วยอย่างมาก ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงมาก ภาวะที่ผู้ป่วยเองอาจจะไม่สามารถทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจจะกลายเป็นภาระของคนในครอบครัวที่ต้องมาดูแล ต้องมีการจ้างพยาบาล หรือบางครอบครัวอาจต้องให้สมาชิกในครอบครัวต้องลาออกจากงานมาเพื่อดูแลผู้ป่วย ทำให้เกิดผลเสียต่อภาระทางการเงินของครอบครัวเป็นอย่างมาก เหมือนกับคำว่า “ล้มคนเดียว ล้มทั้งบ้าน” การทำประกันโรคร้ายแรงไว้ก็จะเข้ามาช่วยบรรเท่าภาระค่าใช้จ่ายหากมีใครในครอบครัวต้องเจ็บป่วยหนักด้วยโรคร้ายแรง

ซึ่งในปัจจุบันประกันโรคร้ายแรงก็มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้บริการและบริหารจัดการความเสี่ยงในส่วนนี้ มีทั้งแบบที่เบี้ยถูกแต่ให้ความคุ้มครองสูง แบบที่มีเงินสะสมในตัว แบบที่ชำระเบี้ยระยะสั้นแต่ให้ความคุ้มครองได้ระยะยาว เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและวิธีการวางแผนของลูกค้าแต่ละท่านแต่ละครอบครัว

ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายแรง

ค่ารักษาโรคร้ายแรง 2567

ประกันโรคร้ายแรงที่ไหนดี ทำไมต้อง AIA

  1. เป็นบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงินสูง มีเครือข่ายบริษัทในประเทศต่างๆ และเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  2. มีความเป็นมืออาชีพในการดูแล ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และ ประกันโรคร้ายแรง
  3. ได้สิทธิ์ลูกค้า AIA Vitality ได้รับสิทธิพิเศษและส่วนลดต่างๆอย่างมากมายกับบริษัทพันธมิตรเพื่อช่วยดูแลสุขภาพ อีกทั้งสามารถรับส่วนลดเบี้ยประกันได้สูงสุดถึง 25%
  4. รับบริการจัดการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล (Personal Medical Case Management : PMCM) โดย Teladoc ที่ครอบคลุมการให้คำปรึกษา กับกลุ่มโรคร้ายแรง หรือโรคที่มีความซับซ้อน โดยการดูแลของทีมแพทย์และผู้เชียวชาญทั่วโลก

เปรียบเทียบประกันโรคร้ายแรง AIA

AIA Multipay CI Plus

AIA MULTI-PAY C [...]

AIA CI PLUS

แผนประกันโรคร้า [...]

AIA CI SuperCare

แผนประกันโรคร้า [...]

AIA CI SUPERCARE PRESTIGE

มอบความคุ้มครอง [...]

ดูตารางเปรียบเทียบเพิ่มเติม : คลิก

วิธีการสมัครประกันโรคร้ายแรง

การสมัครทำประกันโรคร้ายแรงของ AIA นั้นสามารถสมัครได้ผ่านช่องทางต่างๆดังนี้

  1. การสมัครผ่านตัวแทนโดยสมัครผ่านระบบ ipos+ ของตัวแทนในการช่วยยื่นเอกสารสมัคร
  2. สมัครผ่านระบบ ทำประกันออนไลน์ AIA iSign