เปิดเทอมทีไร คุณพ่อคุณแม่อดห่วงไม่ได้สักที กับโรคในเด็กเล็กที่พบได้บ่อย ในช่วงทารก 0-5 ปี จนถึงเข้าโรงเรียน เพราะในช่วงอายุนี้ภูมิคุ้มกันของน้องๆยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และช่วงที่เริ่มเข้าโรงเรียนเป็นช่วงที่ลูกมีโอกาสคลุกคลีกับคนหมู่มาก มีโอกาสติดเชื้อจากเพื่อนๆที่เล่นด้วยกัน
มาดูกันว่าโรคที่ควรเฝ้าระวังในช่วงเปิดเทอมมีอะไรกันบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร ป้องกันกันอย่างไร หากเป็นแล้วจะสังเกตุอาการอย่างไรได้บ้าง มาติดตามกันได้เลยค่ะ
1. โรค RSV
- 👉เป็นอีกหนึ่งโรคในเด็กช่วงเปิดเทอมที่ป่วยกันมาก โดย RSV พบระบาดได้เกือบทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงที่มีอากาศชื้น ซึ่งการติดต่อของโรคสามารถติดต่อผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก หรือการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อไวรัส การติดเชื้ออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรค ที่พบมากคือ หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมอักเสบ หรือปอดบวม
- 👨⚕️อาการของโรค คือ มีไข้ ไอรุนแรง หายใจลำบาก หายใจเร็ว มีเสียงวี๊ด เสมหะมาก ซึม กินอาหารได้น้อยลง
- 👨👩👧การป้องกัน หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือให้คนแปลกหน้าจูบหรือหอมแก้มเด็กเล็ก ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ และดูแลอากาศในบ้านให้ปลอดโปร่ง
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : RSV โรคอันตรายในเด็กเล็ก
2. โรค มือ เท้า ปาก
- 👉เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส พบมากในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเด็กเล็กอาการจะรุนแรงกว่าในเด็กโต
- 👨⚕️อาการของโรค มีตุ่มพอง ผื่นหรือแผลอักเสบบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และภายในปาก มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลียในเด็กเล็กจะมีอาการงอแงไม่สบายตัว หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายใด อาการป่วยจะทุเลาลง และหายไปในระยะเวลาประมาณ 10 วัน หากมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ซึมลง ปวดศีรษะมาก ปวดต้นคอ เพ้อ ควรพบแพทย์ทันที
- 👨👩👧การป้องกัน หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหาร ไม่ใช้สิ่งของหรือภาชนะร่วมกับผู้อื่น
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : มือ เท้า ปาก โรคที่พบได้บ่อยในโรงเรียน
3. ไข้หวัดใหญ่
- 👉โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส
- 👨⚕️อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา คือ มีไข้ ตัวร้อน น้ำมูกไหล แต่มีความรุนแรงและมีโอกาสพัฒนาสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี และระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู โดยเฉพาะฤดูฝนและหนาว การรักษา จะรักษาตามอาการไข้หวัด หรือในบางรายอาจได้รับยาต้านเชื้อไวรัสร่วมด้วย ควรพักฟื้นให้เพียงพอ เพราะร่างกายจะอ่อนเพลียและต้องการพักผ่อนมากกว่าปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ คือ ภาวะขาดน้ำ การติดเชื้อแบคทีเรียในอวัยวะต่างๆ เช่น หู ไซนัส หลอดลม และปอด เป็นต้น
- 👨👩👧การป้องกัน ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำทุกปี หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยและเสมหะของผู้ป่วย ล้างมือสม่ำเสมอ และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน
อ่านเพิ่มเติม : ไข้หวัดใหญ่ โรคที่ไม่ธรรมดาในเด็ก
4. ท้องร่วง ท้องเสีย
- 👉เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็ก เนื่องจากได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือการหยิบสิ่งของเข้าปาก
- 👨⚕️อาการ คือ ถ่ายเหลว อาจมีไข้ร่วมด้วย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง บางรายมีอาการรุนแรงร่างกายเสียน้ำมากจนมีอาการขาดน้ำ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาการวิกฤตได้ อาการท้องร่วงส่วนมากจะหายได้เอง แต่ต้องระวังภาวะขาดน้ำ การรักษาจึงต้องป้องกันภาวะขาดน้ำโดยการให้น้ำเกลือแร่ ORS แก่ผู้ป่วย
- 👨👩👧การป้องกัน ล้างมือให้สะอาด ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ล้างขวดนมให้สะอาด กำจัดขยะมูลฝอยและถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ
5. ไข้เลือดออก
- 👉เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค
- 👨⚕️อาการ คือ ไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว การรักษาจะดูแลตามอาการ แต่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในเด็ก หรือ ผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วป่วยซ้ำได้
- 👨👩👧การป้องกัน คือ ป้องกันยุงลายกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
และนี่ก็เป็นตัวอย่างของ 5 โรคที่พบบ่อยในเด็กช่วงวัยอนุบาล เพราะเด็กเป็นวัยที่ร่างกายยังไม่เติบโตเต็มที่ และยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ จึงควรดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพลูกน้อยเป็นพิเศษ
ถึงแม้จะป้องกันและระมัดระวังอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าลูกน้อยจะไม่เจ็บป่วย
ประกันสุขภาพเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากๆสำหรับเด็กช่วงวัยนี้ เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายของคุณพ่อคุณแม่
เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูงในปัจจุบัน และความถี่และโอกาสที่จะต้องเข้าไปรับการรักษาพยาบาลที่บ่อยของเด็กวัยนี้